การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาด้านอาชีวศึกษาซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศไม่แต่เฉพาะแต่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเจริญทั่วไป และความปลอดภัยของประเทศ แต่ที่สำคัญที่สุดในด้านของการผลิตคน ผลิตกำลังคนไปทำงานด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ เพราะอาชีวศึกษาเป็นเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ขึ้นมาทั้งสิ้นดังนั้นในโลกซึ่งเทคโนโลยีเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเน้นนโยบายการศึกษาและการศึกษา ด้านอาชีวศึกษาจะต้องให้ทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จากความสำคัญดังได้กล่าวมาแล้ว ดร.พรเลิศ แสงกวีเลิศ ได้มีความคิดที่จะพัฒนาด้านอาชีวศึกษา ให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัย เพื่อเยาวชนของชาติได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ดังนั้น จึงได้ก่อตั้ง โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี และโรงเรียนเทคนิคพระรามหก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2526 และได้รับอนุญาต ในปี พ.ศ. 2527 ใบอนุญาตเลขที่ 325/2527 และใบอนุญาตเลขที่ 340/2527
พ.ศ. 2552 ได้รับอนุญาตให้โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีและโรงเรียนเทคนิคพระรามหกรวมกิจการโรงเรียนเข้าด้วยกัน เป็นโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี
พ.ศ. 2554 โรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยีได้รับการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก
ปรัชญา :
สร้างคุณธรรม นำวิชาการ เพื่องานอาชีพที่ดี
สัญลักษณ์ :
- วิสัยทัศน์ (Vision)
วิทยาลัยเทคโนโลยีพระรามหก “พัฒนาคุณภาพนวัตกรรมอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีอย่างต่อ เนื่องเพื่อให้ผู้เรียนเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
- พันธกิจ (Mission)
พันธกิจที่ ๑ พัฒนาผู้สำเร็จการศึกษาให้มีคุณลักษณะอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์และ
ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจที่ ๒ พัฒนาการบริหารจัดการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจที่ ๓ พัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- เอกลักษณ์ (Uniqueness)
“จิตอาสา”
จิตอาสา หมายถึง ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ชุมชน สถานประกอบการ สถานศึกษา ด้วยความสมัครใจและเต็มใจ เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- อัตลักษณ์ (Identity)
“ทักษะเด่น เน้นบริการ”
ทักษะเด่น หมายถึง ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และความชำนาญในการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับ
เน้นบริการ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพตามสาขาวิชาไปบริการให้กับผู้รับบริการเช่น ชุมชน สถานประกอบการ สถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ได้รับความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุด
- คุณธรรมอัตลักษณ์ (Moral identity)
“วินัย” “พอเพียง” “จิตอาสา”
วินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคม และประเทศ โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษาและสังคม
- ปฏิบัติตามกติกาและมารยาทของสังคม
- ประพฤติตนตามหลักศีลธรรมอันดีงาม
- ประพฤติตนตรงต่อเวลา
พอเพียง หมายถึง การดำเนินชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางหรือดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีความรู้ มีภูมิคุ้มกัน พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การมีจิตใจเป็นผู้ให้ มีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ เอื้ออาทรช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย สติปัญญาและเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ ดังนี้
- ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกำลังแรงกายและสติปัญญา
- อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
- แบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
- อาสาช่วยเหลืองานครูอาจารย์
- กลยุทธ์ (Strategy Goal)
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาวะที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่ดี
กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สถานประกอบการและตลาดแรงงาน
กลยุทธ์ที่ ๖ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๗ สถานศึกษาจัดทรัพยากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ที่ ๘ บริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
กลยุทธ์ที่ ๙ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ ๑๐ ร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สังคมแห่งการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 11 ส่งเสริมให้มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์และเผยแพร่สู่สาธารณชน